เทศบาลตำบลพนม มาจากสุขาภิบาลพนมเดิมสุขาภิบาลพนมตั้งอยู่บริเวณคลองบางท่อนบรรจบกับคลองสก
ห่างจากทางหลวงสาย 401 (สุราษฏร์ - ตะกั่วป่า) ลงไปทางใต้ประมาณ 4.5
กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2513 -2514
ได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอพนมมาอยู่ริมทางหลวงสาย 401
หลังจากนั้นสถานที่ราชการ ร้านค้า และกิจกรรมต่าง ๆ
ได้ย้ายและก่อตั้งขึ้นในบริเวณรอบ ๆ
ที่ว่าการอำเภอจนก่อให้เกิดศูนย์กลางใหม่ขึ้นบริเวณนั้น
ดังนั้นคณะกรรมการสุขาภิบาลจึงได้ขอขยายเขตสุขาภิบาลออกมาครอบคลุมที่ว่าการอำเภอ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ได้มีกฤษฎีกาขยายเขตสุขาภิบาลให้มีเนื้อที่ 20.29
ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่ในเขตปกครองได้แก่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่
3 และหมู่ที่ 13 ตำบลพนม มีสำนักงานที่ทำการอยู่บนที่ว่าการอำเภอพนม
ต่อมาสุขาภิบาลพนมได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542
มีสำนักงานอยู่บนที่ว่าการอำเภอ
ทางผู้บริหารท้องถิ่นเห็นว่าเทศบาลน่าจะมีสำนักงาน
เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการบริหารงานบวกกับมีพนักงานเพิ่มมากขึ้น
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2546 จึงได้ก่อสร้างสำนักงานขึ้น บนถนนสาย 401
(สุราษฎร์-ตะกั่วป่า หมู่ที่ 1 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 71
และได้ย้ายมามาอยู่สำนักงานใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2547
ซึ่งมีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประมาณ 82 กิโลเมตร ต่อมาในปี
พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยได้ยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลพังกาญจน์กับเทศบาลตำบลพนม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ลงวันที่ 24 กันยายน 2547
เรื่องยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลพังกาญจน์กับเทศบาล ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ทำให้เทศบาลตำบลพนมในปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 56
ตารางกิโลเมตร
รวมแล้วเป็นพื้นที่ในเขตปกครองทั้งหมดของเทศบาลตำบลพนม ประมาณ 75
ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 46,800 ไร่
วิสัยทัศน์
“พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความรู้รอบด้าน การบริหารก้าวไกล
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”
พันธกิจ
- จัดให้มีและบำรุงรักษาเส้นทางคมนาคมและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
- ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพของชุมชนและการให้บริการด้านสาธารณสุข
- ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
- ส่งเสริมให้ชุมชนมีคุณธรรมโดยยึดหลักศาสนา
ที่ตนนับถือส่งเสริมระบบการเมือง การบริหาร
ตามระบอบประชาธิปไตย
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
- ระบบสาธารณูปโภคครบถ้วนตามความต้องการของประชาชน
- ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นและมีสุขภาพที่ดี
- ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น มีการธำรงไว้ซึ่งศาสนา
และศิลปวัฒนธรรม
- ระบบการเมืองการบริหารมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
- ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์ไม่ถูกทำลาย